พระเครื่อง พระเกจิ วัตถุมงคล

ประวัติหลวงพ่อกวย ชุตินฺธโร (ตอนที่ 5)

   หลวงพ่อกวย วัดโฆสิตาราม (วัดบ้านแค) เป็นเกจิอาจารย์ที่มีลูกศิษย์นับถือมากมาย มีผู้พยายามเขียนประวัติ และรวบรวมวัตถุมงคลของท่านมากมาย ซึ่งราคาบูชาค่อนข้างสูง   อย่างไรก็ตามวัตถุประสงค์หลักที่ครูบาอาจารย์ได้จัดสร้างขึ้นนั้น ล้วนต้องการให้เป็นพุทธานุสติ ให้มีศีล มีคุณธรรมเป็นที่ยึดเหนี่ยวยามที่ได้เห็น ได้สัมผัสวัตถุมงคล
  
   ประวัติหลวงพ่อกวย วัดโฆสิตาราม ผมได้ศึกษาจากอินเทอร์เน็ต (www.watkositaram.com) ซึ่งก็ต้องขออนุญาตเผยแพร่ ณ ที่นี้ และท่านผู้อ่านสามารถศึกษาเพิ่มเติมที่เว็บดังกล่าวได้   ในวันที่ ๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๙๗ ได้รับแต่งตั้งเป็นพระกรรมวาจารย์ (คู่สวด)

ผลงานทางศาสนา

   หลวงพ่อไม่ชอบการก่อสร้าง ชอบความเป็นอยู่แบบสมถะ แม้กุฏิของหลวงพ่อก็เป็นไม้ทรงไทยโบราณ แต่การก่อสร้างนั้น หลวงพ่อยกหน้าที่ให้กรรมการวัด แม้การก่อสร้างก็ให้กรรมการวัดและชาวบ้านทำ ยกเว้นส่วนที่ยากจึงจ้างช่างทำ ฉะนั้น ทาง วัดจึงมีแต่กุฏิเก่า ๆ ที่สร้างไหม่ก็มีมีแต่พระอุโบสถ, ศาลาทำบุญ กุฏิชุตินฺธโร ที่ศิษย์สร้างถวายเท่านั้น วันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๑๑ ได้รับพระราชประทานสมณศักดิ์เป็นพระครูชั้นประทวน และมรณภาพเมื่อวันที่ ๑๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๒๒ อายุ ๗๔ ปี ๕๔ พรรษา ด้วยอาการสงบ ก่อนหน้านี้ ในปี พ.ศ. ๒๕๒๑ หลวงพ่อได้เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลพญาไท หมอได้วินิจฉันโรค ว่าหลวงพ่อเป็นโรคขาดอาหารมาเป็นเวลา ๓๐ ปี ได้ให้สารอาหารประเภทโปรตีนกับหลวงพ่อ เป็นเวลาถึง ๑ เดือน ก็ยังไม่เพียง พอกับความต้องการของร่างกายเมื่อกลับวัดหลวงพ่อก็ยังได้ฉันอาหารเียงวันละ ๑ ครั้ง เช่นเดิม โดยไม่เปลี่ยนความตั้งใจ หลวงพ่อยังคงคร่ำเคร่งในการสร้างและปลุกเสกวัตถุมงคลดูเหมือนจะหนักกว่าเก่า สุขภาพหลวงพ่อมองดูภายนอกก็แข็งแรง ไม่มีโรคภัยเบียดเียน ในเดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๕๒๒ หลวงพ่อได้วงปฏิทิน วันที่ท่านเริ่มเจ็บเอาไว้ด้วยสีน้ำเงิน และวงปฏิทิน วนที่ท่านมรณภาพเอาไว้ด้วยตัวหนังสือสีแดง คือวันที่ ๑๑ มีนาคม และ๑๑ เมษายน ๒๕๒๒ พร้อมทั้งเขียน พระคาถา นะโมตาบอด ให้ไว้เป็นคาถาแคล้วคลาดและกำบัง หลวงพ่อเขียนว่า “อาตมาภาพพระกวย ” นะตันโต นะโมตันติ ตันติ ตันโต นะโม ตันตัน” จะมรณภาพ วันที่ ๑๑ เมษายน เวลา ๗ นาฬิกา ๕๕ นาที” พอวันที่ ๑๑ มีนาคม หลวงพ่อก็ล้มป่วย ไม่มีโรคอะไร เพียงแต่ไม่มีกำลัง ฉันอาหารไม่ได้ ไม่ยอมไปโรงพยาบาล มีอาการไข้แทรก ฉันอาหารแทบไม่ได้เลย ไม่มีรสชาติ บางครั้งท่าน พ่นข้าวออกจากปาก ไม่ยอมฉัน แล้วหยิบแผ่นตะกรุดขึ้นมาจาร บางครั้งก็จับสายสิญจน์ ปลุกเสกวัตถุมงคล กลางคืนก็จับสาย สิญจน์ปลุกเสกวัตถุมงคล บางคืนถึงสว่าง ร่างกายของท่านปกติก็ผอมมากอยู่แล้วกลับผอมหนักเข้าไปอีก เมื่อมีศิษย์มาเยี่ยม ศิษย์เห็นท่าน หลายคนร้องไห้ ท่านไม่ชอบ แทบทุกคนจะร้องไห้ ท่านจะดุศิษย์ว่า “มึงร้องไห้ทำไม กูไปดี เป็นห่วงแต่พวงมึงนั่น แหล่” ช่วงหวยใกล้จะออก ท่านได้เขียนเลขหวย 3 ตัวเอาไว้ในฝ่ามือ ใครที่ไปเยียมท่านคนไหนมีโชคลาภ ท่านจะแบมือให้ดู ในช่วงนั้น (ความจริงตอนนี้ไม่อยากเล่า) ผมได้เข้าไปเยี่ยมท่าน เป็นการกราบลาครั้งสุดท้าย นึกขึ้นมาครั้งใดน้ำตาไหลทุกที่ พอผมขึ้นบันไดกุฏิ ตอนนั้นอาจารย์ตั้วได้มาบอกว่าถ้าเข้าไปเยี่ยมท่านห้ามไม่ให้ร้องไห้ ท่านไม่ชอบ เดี๋ยวท่านดุเอา ผมก็เข้าใจ ช่วงนั้นผมงานยุ่งไม่ได้มาเยี่ยมท่านเสียนาน เมื่อเข้าไปหาท่าน ได้เข้าไปกราบที่ปลายเท้า ผมไม่แน่ใจว่าท่านจะจำผมได้หรือไม่ เพราะท่านผอมไปมาก ผมได้ถอดตะกรุดแม่ทัพที่ท่านทำให้ท่านดู เผื่อท่านจำผมไม่ได้ ท่านอาจจำตะกรุดได้ เมื่อท่านเห็นผม น้ำตาท่านไหล ท่านพูดว่า “ไอ้ครู มึงทำไมพึ่งมา กูคอยมึงตั้งนานแล้ว” พอผมเห็นน้ำตาท่านไหล และท่านพูดว่าท่านคอยผมตั้ง นานแล้ว ผมร้องไห้โฮไม่เกรงใจใครแล้ว อาจารย์ตั้วได้ดึงผมให้ไปร้องไห้ข้างนอก กลัวท่านจะสะเทือนใจมากไป เมื่อสงบดีแล้ว ผมได้เข้าไปหาท่านใหม่ ท่านให้เด็กชายที่ไปหยิบห่อพระมาให้ผม ๒ ห่อ ห่อด้วยผ้ายันต์ค่ายกล ห่อหนึ้งเป็นพระพิมพ์สรรค์ อีกห่อหนึ้งเป็นพระสมเด็จหลังรูปเต็มองค์พิมพ์ใหญ่ ท่านพูดว่าหลังรูปเอาไว้แบ่งกันใช้ พระสรรค์ให้เอาเก็บไว้แล้วท่านก็ไม่พูด อะไรอีกเลย ท่านหลับตาเข้าสมาธิ ว้นที่ ๑๐ เมษายน กลางคืนมีศิษย์มาเฝ้าท่านเต็มไปหมด ตอนเช้ายิ่งมาก เพราะท่นจะมรณภาพ แต่ท่านก็ไม่มรณภาพ ท่านผอมมากมีแต่หนังหุ้มกระดูก มีแต่ประกายตาที่สดใสเท่านั้น จนกระทั่งตกกลางคืนท่านก็ไม่มรณภาพ ค่อนสว่างวันที่ ๑๒ เมษยน ๒๕๒๒ ทางกรรมการวัดและศิษย์ใกล้ชิดได้ประชุมปรึกษากันว่า สงสัยในกุฏิท่านจะลงอาถรรพณ์เอา ไว้ ตลอดจนตำราอักขระเลขยันต์ ตลอดจนรูปครูบาอาจารย์ คงจะไมีมีมครกล้ามารับท่านแน่ อยากเห็นท่านไปดี จึงปรึกษากัน นำท่านออกมาที่หอสวดมนต์ เมื่อเตรียมที่เสร็จเรียบร้อยแล้ว อุ้มท่านมาจำวัตรที่เตียงที่หอสวดมนต์ ท่านลืมตาขึ้นเป็นการสั่งลา ครั้งสุดท้าย แล้วหลับตาพนมมือเกิดอัศจรรย์ ระฆังใบใหญ่ที่หอสวดมนต์ได้ขาดตกลงมา ดังหง่าง ๆๆๆๆๆ ดังยาวนาน ศิษย์ที่ อยู่ศาลาเข้าใจว่าท่านมรณภาพแล้ว จึงได้ตีระฆัง คือคาดว่ามีคนตีระฆัง เมื่อจับเวลาดู เป็นเวลา ๗ นาฬิกา ๕๕ นาที จับชีพจรท่านดู ปรากฏว่าท่านมรณภาพแล้ว ตรงกับวันที่ ๑๒ เทษายน ซึ่งวันที่ ๑๓ เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่ของคนไทยโบราณ ศิษย์มากันเต็มไปหมดมืดฟ้ามัวดิน ทางวัดได้จัดสวดอภิธรรม ๑๐๐ วัน กลางคืนได้นำเทปที่ท่านเทศน์ นำมาเปิดให้ศิษย์ฟัง ไอ้เจ็กหมาของท่านร้องโหยหวล มันวิ่งไปทั่ว มันไม่รู้ว่าหลวงพ่ออยู่ที่ไหน ปัจจุบันในวันที่ ๑๒ เมษายนของทุกปี เป็นวันทำบุญ ประจำปีเพื่ออุทิศและระลึกถึงหลวงพ่อ ได้จดจำวันนี้ไว้ จะอยู่ใกล้หรือไกล ในวนที่ ๑๒ เมษายนทุกปี ควรจะทำบุญใส่บาตรหรือ มากราบหลวงพ่อที่วัด หรือนำผ้าป่ามาทอด เพื่อระลึกถึงหลวงพ่อ ขอจงปฏิบัติให้ได้ทุกปี ท่านจะมีแต่ความสุขความเจริญ ชีวิตจะไม่ตกต่ำเหมือนกับคำพรของหลวงพ่อ ที่เคยให้ไว้ “ขอศิษย์ทั้งหลาย จงอย่าอด อย่าอยาก อย่ายาก อย่าจน อย่าต่ำกว่าคน อย่าจนกว่าเขา” ก็ขอสมมุติยุติพระประวึติของหลวงพ่อไว้แต่เพียงเท่านี้

หมายเหตุ

   จากประวัติของหลวงพ่อ ไม่ปรากฏว่าท่านมาอยู่จำพรรษาที่วัดบ้านแคเมื่อใด แต่ต้องก่อนสงครามคือ ๒๔๘๔ แน่นอนในช่วงนี้ หลวงพ่อยังได้เรียนวิชาเพิ่มเติมกับหลวงพ่ออิ่ม วัดหัวเขา อ.เดิมบาง จ.สุพรรณบุรี ได้เรียนวิชาทำผงจินดามณี, เรียนวิชามือยาว ฯ และยังได้เรียนวิชาทำผ้าขอด ไปได้กลับได้ และตะกรุดกระดูกงูจากหลวงพ่อแบน วัดเดิมบาง อ.เดิมบาง จ.สุพรรณบุรี อาจารย์ท่าน ๒ องค์นี้ มีหลักฐานแน่ชัด แม้ขณะที่พักจำพรรษาที่วัดบางตาหงาย อ.บรรพตพิสัย ยังได้เรียนวิชาเพิ่มเติมกับ หลวงพ่อพวง วัดหนองกระโดนด้วย ในตำรารักษาไข้ได้กล่าวถึงเอาไว้ ก่อนมรณภาพตอนที่ท่านบ้มเจ็บ ท่านได้พูดกับศิษย์ว่า ถ้าจะให้วัดของท่านรุ่งเรืองทางอาคมเหมือนสมัยที่ท่านมีชีวิตอยู่ ต้องนิมนต์ศิษย์ท่านบวชอยูที่วัดนี้ถึง ๓ องค์ ทางศิษย์ได้ถาม ท่านว่าใครบ้าง ท่านตอบว่าอาจารย์เม่า(บ้านอยู่ใกล้วัดจั่นเจริญศรี) คนหนึ่ง อีกคนหนึ่งคือ อาจารย์จิ๊ต (ชิต) (คนบ้านแค) แล้วท่านก็หยุดพูด เหมือนท่านจะนึกได้ว่าการนำคนที่มีอาคมถึง ๓ คน มาอยู่รวมกันนั้นเป็นไปได้ยาก (อาจารย์เม่า สำเร็จวิชา บังฟัน, บีบถ้วยปูนขาวให้ปากถ้วยเข้ามารวมกันได้, หลวงตาจิ๊ต ปัจจุบันบวชอยู่ ไม่ทราบวัด สำเร็จวิชาหินเบา เสกก้อนหินโยนลง น้ำลอยได้)